วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน ม.4

บทอาขยาน
บทหลัก

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดหล้านภาลัย
ว่าพลางทางชมคณานก        โผนผกจับไม้อึงมี่ 
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี        เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา 
นางนวลจับนางนวลนอน        เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา 
จากพรากจับจากจำนรรจา        เหมือนจากนางสการะวาตี 
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง        เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี 
นกแก้วจับแก้วพาที        เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา 
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร        เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา 
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา        เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง 
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง 
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง        คะนึงนางพลางรีบโยธี

บทที่8.มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มากอ่านต่อ



บทที่7.มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ 
มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลยอ่านต่อ

บทที่6.ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติผู้แต่งอ่านต่อ

บทที่5.หัวใจชายหนุ่ม

 หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน อ่านต่อ

บทที่4.นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง


    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลายอ่านต่อ 

บทที่3.นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

สรุป ความรู้ภาษาไทย เรื่อง นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

         นิทานเวตาล มีที่มาจากวรรณคดีอินเดียโบราณ มี25เรื่องของเวตาลโดย ศิวทานเป็นผู้แต่ง
โดยในฉบับไทยนี้ น.ม.ส. (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ) ทรงแปลเรียบเรียงจากฉบับอังกฤษ
มา10เรื่องด้วยกันอ่านต่อ

บทที่2.อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
 ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน
ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไปอ่านต่อ

บทที่1.คำนมัสการคุณานุคุณ


คำนมัสการคุณานุคุณ
     คำนมัสการคุณานุคุณ  ผลงานการประพันธ์ของ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)  มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดามารดา  และครูอาจารย์  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอ่านต่อ

บทนำ.การวิจักษ์วรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดีหมายถึงอะไร
การวิจักษ์วรรณคดี หมายถึง การอ่านวรรณคดี โดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรองแยกแยะและแสวงหาเหตุผล เพื่อประเมินคุณคาของวรรณคดีไดอยางมีเหตุผล และพิจารณาไดว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถอยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรอลืกซึ้งเพึ้ยงใดใหคุณค่า ความรูข้อคิดและคติสอนใจอ่านต่อ